TCI เรื่องที่ 3 สุรภา
- รับลิงก์
- X
- อีเมล
- แอปอื่นๆ
รูปแบบการบริหารกิจการนักเรียนแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา
- อรสา ทรงศรี
- ปราศรัย ประวัติรุ่งเรือง
- ปกรณ์ ประจันบาน
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพและแนวทางการบริหารกิจการนักเรียนแบบมี ส่วนร่วมของโรงเรียนมัธยมศึกษา 2) สร้างรูปแบบการบริหารกิจการนักเรียนแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา 3) ประเมินรูปแบบการบริหารกิจการนักเรียนแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา โดยดำเนินการวิจัย แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน คือ การศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องโดยการสังเคราะห์แนวคิด ทฤษฎี และแนวปฏิบัติ เพื่อให้ได้กรอบแนวคิดการวิจัยสำรวจสภาพการบริหารงานกิจการนักเรียนแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา สัมภาษณ์แนวทางวิธีการปฏิบัติที่ดี (Good Practice) ในการบริหารกิจการนักเรียนแบบมีส่วนร่วม ของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา โดยการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ สร้างรูปแบบการบริหารกิจการนักเรียนของโรงเรียนมัธยมศึกษา โดยการสนทนากลุ่ม(focus group discussion) ของผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน ประเมินความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบการบริหารกิจการนักเรียนของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา โดยใช้แบบสำรวจความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างที่ได้มาโดยการเจาะจง จำนวน 25 คนผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการบริหารกิจการนักเรียนแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ประกอบด้วย 3 รูปแบบหลัก และองค์รูปแบบย่อย ดังนี้ 1) คณะกรรมการกิจการนักเรียน 2) ขอบข่ายการบริหารกิจการนักเรียน ซึ่งมีรูปแบบย่อยคือ 2.1) งานบริการและสวัสดิการนักเรียน (2.2) งานกิจกรรมนักเรียน (2.3) งานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน (2.4) งานกิจกรรมที่เป็นจุดเน้นและเอกลักษณ์ของสถานศึกษา 3) กระบวนการบริหารกิจการนักเรียนแบบมีส่วนร่วม รูปแบบได้ผ่านการประเมินความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ โดยผู้มีส่วนได้เสียกับการบริหารกิจการนักเรียนของโรงเรียนมัธยมศึกษามีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก
DOWNLOADS
การอ้างอิงบทความ
ประเภทบทความ
บรรณาธิการแถลง
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
ข้อมูลวารสาร
สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม 39/1 ถนนรัชดาภิเษก แขวงจันทรเกษม เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900
โทรศัพท์ : 0-2942-5800, 0-2942-6800 (ต่อ 9001-9007) แฟกซ์ : 0-2512-1845 อีเมล : research.rdi@chandra.ac.th
ISSN 0858-0006 : (Print)
ISSN 2651-1975 : (Online)
โทรศัพท์ : 0-2942-5800, 0-2942-6800 (ต่อ 9001-9007) แฟกซ์ : 0-2512-1845 อีเมล : research.rdi@chandra.ac.th
ISSN 0858-0006 : (Print)
ISSN 2651-1975 : (Online)
- รับลิงก์
- X
- อีเมล
- แอปอื่นๆ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น